หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
เทศบาลตำบล คลองพิไกร ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าแรก

หน้าแรก
ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลพื้นฐาน
บุคลากร

บุคลากร
การบริหารบุคคล

การบริหารบุคคล
ข่าวสาร

ข่าวสาร
แผน

แผน
รายงาน

รายงาน
ระเบียบ

ระเบียบ
บริการประชาชน

บริการประชาชน
     
 
 
การจัดการองค์ความรู้ KM
 

 
บทเรียนวินัยออนไลน์  
 

คำถาม  ๒๑/๑/๖๒
ขอสอบถามอาจารย์ค่ะ
กรณีพนักงานจ้าง อบต. ไม่มาทำงานติดต่อกันในคราวเดียวเกิน 7 วัน  พยายามให้เข้ามาพูดคุย แต่ติดต่อไม่ได้ ไปตามที่บ้านไม่เจอ  โดยพนง.คนนี้อยู่ในระหว่างทำงานใช้ทุนอบต. ซึ่งหากสอบสวนว่ามีความผิดจริงสามารถดำเนินการทางวินัยโดยไล่ออกได้เลย ทั้งยังเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง (ไม่จำต้องสอบสวนก็ลงโทษได้เลย ถูกต้องไหมคะ)  ทีนี้ติดปห.ตรงที่ ถ้าอบต.ให้พนง.จ้างคนนี้ออกจากราชการ คนค้ำซึ่งเป็นขรก.จะต้องรับผิดชดใช้แทนอย่างแน่นอน  อาจารย์พอจะมีทางออกไหมคะ หรือเราสามารถลงโทษตามความผิดไม่ร้ายแรง เช่น ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน เพื่อให้ทำงานจนครบเวลาใช้ทุนจะได้ไหมคะ

ตอบ
          "การทำผิดวินัยกับการใช้ทุน" เป็นคนละเรื่อง หากนำมาปนกัน จะยุ่งยากในการแก้ปัญหา

          ประเด็น
          พนักงานจ้างขาดงานติดต่อกันเกินกว่า ๗ วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร แม้ว่าถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ตาม แต่อาจเป็นวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ได้หรือไม่

          สรุปสั้น
          อาจเป็นวินัยอย่างไม่ร้ายแรงได้ ขึ้นอยู่ที่ผลการสอบ

          ขยายความ
          มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้างฯ กำหนดว่า...
          "ข้อ ๔๙ การกระทำผิดดังต่อไปนี้ ถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
          (๖) ละทิ้งหรือทอดทิ้งการทำงานเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าเจ็ดวัน
          ....
          การที่พนักงานจ้างผู้นี้ไม่มาทำงานติดต่อกันเกินกว่า ๗ วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง จะต้องได้รับโทษไล่ออก ตามข้อ ๔๘ วรรคสอง (๔)

          แต่ก่อนที่นายกฯ จะออกคำสั่งลงโทษไล่ออกตามมติ ก.จังหวัด
          ๑. นายกฯ ต้องได้ดำเนินการสืบสวนแล้ว เห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร ตามหลักเกณฑ์วินัย ข้อ ๕๖ (๒) ประกอบมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้างฯ ข้อ ๔๘ วรรคหนึ่ง ซึ่งถือเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง หรือ
          ๒. นายกฯ ต้องได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ตามหลักเกณฑ์วินัย ข้อ ๒๖ วรรคหกแล้ว
          ในการสืบสวนหรือการสอบสวนดังกล่าว หากพบว่าการขาดงานของพนักงานจ้างผู้นี้ไม่ติดต่อกันเกินกว่า ๗ วัน หรือขาดงานโดยมีเหตุอันสมควร ไม่ถือว่าเป็นวินัยอย่างร้ายแรง จะสั่งลงโทษไล่ออกไม่ได้ ส่วนจะเป็นโทษสถานใดขึ้นอยู่ที่ผลการสอบสวน
          สำหรับการใช้ทุนการศึกษาเป็นไปปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการกำหนดให้เงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นรายจ่ายที่ อปท.อาจจ่ายได้ พ.ศ.๒๕๕๙ ข้อ ๕ (๒) และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาแก่ อปท. ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๗ ข้อ ๘
          ดังนั้น การขาดงานกับการใช้ทุนการศึกษาจึงเป็นคนละเรื่องกัน ไม่ควรนำมาพิจารณารวม เพราะอาจมีปัญหาตามมาภายหลัง
          ในประเด็นเรื่องนี้มีข้อเท็จจริงเพียงว่า "ไปตามที่บ้านไม่เจอ ติดต่อไม่ได้" แม้อาจถือเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งซึ่งนายกฯ จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่สอบสวน หรืองดการสอบสวนก็ได้ ซึ่งเป็นดุลพินิจก็ตาม แต่เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงโดยละเอียด นายกฯ ควรเลือกที่จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงก่อน อาจพบทางออกก็ได้

          อ้างอิง :
          ๑. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัยฯ
              (๑) ข้อ ๒๖ วรรคหก
              (๒) ข้อ ๕๖ (๒)
          ๒. มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
              (๑) ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๔)
              (๒) ข้อ ๔๙ (๖)
          ๓. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยกำหนดให้เงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นรายจ่ายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจ่ายได้ พ.ศ.๒๕๕๙ ข้อ ๕ (๒)
          ๔. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๗ ข้อ ๘

          ขอบคุณครับ

 

ข่าว ณ. วันที่ 22 ม.ค. 2562 เวลา 11.42 น. โดย ฝ่ายอำนวยการ

ผู้เข้าชม 5540 ท่าน

 
 
 
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร 087-194-2499